วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มหาวิทยาลัย ~ สวยงายอร่ามตา =[]=






มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC









สวยดีแท้ อะร๊าอร่าม   143




 

            มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) หรือ เอแบค (ABAC) มหาวิทยาลัยเอกชน ในเครือคณะภารดาเซนต์คาเบรียล มี 3 วิทยาเขตตั้งอยู่ที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการและ city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ













 

 

 

ประวัติ

       มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก "โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ" ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 และได้รับวิทยฐานะเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ" ในปี พ.ศ. 2515 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ) " หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า มอช. และภาษาอังกฤษว่า "AU" ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ)

 

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

 

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ชื่อมหาวิทยาลัย : "อัสสัมชัญ" เป็นชื่อที่มีประวัติความเป็นมา และความหมายดังนี้ แรกเริ่มคุณพ่อกอลเบอต์ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส "Le Collège de L' Assomption" และใช้ชื่อภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซานกอเลิศ" (Assumption College) แต่ปรากฏว่าคนทั่วไปมักจะเรียก และเขียนชื่อโรงเรียนผิดเสมอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดาฮีแลร์ (หนึ่งในเจษฎาจารย์ทั้งห้าที่เดินทางมาช่วยรับช่วงดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ต่อจากคุณพ่อกอลเบอต์) จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "อาศรมชัญ" ดังนั้นชื่อ "อัสสัมชัญ" จึงเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่ง "อัสสัมชัญ" มีความหมายในภาษาไทยดังนี้ "อัสสัม" เป็นคำบาลีมคธว่า "อัสสโม" แปลงเป็นไทยว่า "อาศรม" หมายถึง "กุฏิทีถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" เมื่อแยกตามรากศัพท์เดิมเป็น "ช" แปลว่า เกิด และ "ญ" แปลว่า ญาณ ความรู้ รวมคำได้ว่า ชัญ คือ ที่สำหรับเกิดญาณความรู้ เมื่อรวมทังสองคือ "อัสสัม"และ"ชัญ" เป็น "อัสสัมชัญ" แปลว่า ตำหนักที่สำหรับหาวิชาความรู้

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นอโศก (Ashoka Tree) คือ ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เหตุผลที่มหาวิทยาลัยเลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเพราะ

  1. เป็นต้นไม้ที่เขียวอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความสดชื่นร่มเย็น ความคงเส้นคงวาต่อความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุพันธกิจ ในการให้การศึกษาที่ดีเลิศ โดยไม่ย่อท่อต่ออุปสรรคใด ๆ
  2. เป็นต้นไม้ที่รูปทรงสวยงาม เหมือนสถูปเจดีย์
  3. เป็นมงคลนาม หมายถึง ไม่มีความทุกข์ความโศก และยังเป็นชื่อของกษัตย์อินเดียผู้ยิ่งใหญ่คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ที่สร้างอาณาจักรที่เกรียงไกรให้กับอินเดีย และทนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญสูงสุดในยุคนั้น
  4. เป็นต้นไม้ที่นำจากอินเดียสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมูลนิธิภราดาคณะเซนต์คาเบรียล โดยนำมาปลูกพร้อมกันครั้งแรกที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และกรมป่าไม้

         แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ หรือ Sedes Sapientiæ (The Seat of Wisdom) ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยโดยมีความหมายว่า องค์แม่พระเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัย ที่คอยโอบอุ้มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเปรียบเสมอองค์พระกุมารประทับนั่งอยู่บนตักของแม่พระ

55d528cb950732297bd327894f200182

คณะ       a5f13794b53d736bc0fa75648a647ec1

  • คณะบริหารธุรกิจ (ABAC School of Management)
  • คณะศิลปศาสตร์ (ABAC School of Arts)
  • คณะนิเทศศาสตร์ (ABAC School of Communication Arts)
  • คณะนิติศาสตร์ (ABAC School of Law)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ABAC School of Engineering)
  • คณะวิทยาศาสตร์์และเทคโนโลยี (ABAC School of Science and Technology)
  • คณะพยาบาลศาสตร์ (ABAC School of Nursing Science)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ABAC School of Architechture)
  • คณะดนตรี (ABAC School of Music)
  • คณะเทคโนโลยีชีวภาพ (ABAC School of Biotechnology)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะศึกษาศาสตร์ (ABAC Graduate School of Education)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ABAC Graduate School of Information Technology)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะบริหาร (ABAC Graduate School of Business)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะปรัชญา (ABAC Graduate School of Philosophy and Religion)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะจิตวิทยา (ABAC Graduate School of Counseling Psychology)
  • วิทยาลัยศึกษาทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ท (ระดับปริญญาโท) (ABAC College of Internet Distance Education )







 85e299eab64bb9ac3ac639d1297fc604        9282570e771eb64af345480ee8a17bb1


มหาวิทยาลัย กรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ “โรงเรียนไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยอาจารย์สุรัตน์ และอาจารย์ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยจัดการเรียนการสอนใน 9 คณะ รวมทั้ง วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ปัจจุบัน เปิดดำเนินการสอน ใน 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตรังสิต จังหวัดปทุมธานี

ประวัติ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพถือกำเนิดขึ้นมาจากการก่อตั้ง "โรงเรียนไทยเทคนิค" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยอาจารย์ ร.ต.อ.สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (เจ้าของบริษัทในเครือโอสถสภา) โรงเรียนตั้งอยู่ในที่ดินในซอยบ้านกล้วยใต้ ริมถนนพระราม 4 (ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งของวิทยาเขตกล้วยน้ำไท) ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นถนนลูกรังอยู่ แต่เป็นย่านค้าขายของเหล่าบรรดานายห้างต่างชาติรวมถึงท่าเรือสินค้าที่คลองเตยด้วย

ต่อมา มีการเปลี่ยนชื่อสถาบันใหม่เป็น "วิทยาลัยกรุงเทพ" หรือ Bangkok College เนื่องจาก ชื่อเดิมสร้างความสับสนต่อประชาชนทั่วไปที่คิดว่าเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา การจัดการศึกษาของโรงเรียนในสมัยแรก ๆ ไม่ได้รับการรับรองจากทางราชการไทย เนื่องจากเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญา ผู้บริหารโรงเรียนจึงได้ขอความร่วมมือทางวิชาการจาก มหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสัน (Fairleigh Dickinson University) จากสหรัฐอเมริกา ในการรับรองวิทยฐานะของปริญญา โดยในสมัยนั้นผู้ที่ศึกษาจบการศึกษาจากวิทยาลัยกรุงเทพจะได้รับปริญญา 2 ใบ คือ จาก วิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสันด้วย[1]

เมื่อวิทยาลัยกรุงเทพเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากขึ้น การขยายตัวก็มีขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็มีการเกิดขึ้นของวิทยาลัยเอกชนอีกหลาย ๆ แห่งไม่ว่าจะเป็น วิทยาลัยการค้า วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ การแข่งขันของสถาบันการศึกษาเอกชนเริ่มมีมากขึ้น ผู้บริหารจึงมีโครงการที่จะขยายและยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้รับการอนุญาตจากทางราชการไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 วิทยาลัยกรุงเทพจึงได้รับการยกฐานะจากทางราชการไทยให้เป็น "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527[2]

มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การขยายตัวนี้นำมาซึ่งการเปิดวิทยาเขตแห่งใหม่ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ห่างจาก ท่าอากาศยานกรุงเทพ ไปตามถนนพหลโยธิน 14 กิโลเมตร ภายในพื้นที่กว่า 400 ไร่ ซึ่งผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมีความหวังที่จะสร้างวิทยาเขตรังสิตให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศเหมือนมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่ชานเมือง มีสวน มีต้นไม้ มีทะเลสาบ และมีอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ด้วยความห่างไกลความเจริญของรังสิตในสมัยนั้น มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิตถูกขนานนามว่าเป็น กระท่อมปลายนา จากการเรียกของนักศึกษา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ (2527-2547)

มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้รูปเพชร เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยมาโดยตลอดตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาแล้วหลายครั้ง โดยในรูปแบบดั้งเดิมนั้น เรียกว่า เพชรในชัยพฤกษ์ ซึ่งเป็นตราที่ประกอบไปด้วยรูปเพชร และล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ แต่ปัจจุบัน (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548) มีการเปลี่ยนแปลงตรามหาวิทยาลัยใหม่ แต่ยังคงเป็นรูปเพชร ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะความทันสมัยมากขึ้น และเพิ่มเติมสีสัน เพื่อให้สื่อความหมายต่างๆ มากขึ้นด้วย

ที่มาของตรามหาวิทยาลัยรูปเพชรนั้น แท้จริงแล้ว มีที่มาจากชื่อผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยคือ อาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ คำว่า สุรัตน์ แปลว่า แก้วอันประเสริฐ ซึ่งก็คือ เพชร นั่นเอง การนำเพชรมาเป็นตรามหาวิทยาลัย จึงเป็นการให้เกียรติ และเป็นการระลึกถึงผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้นั่นเอง นอกจากนั้น เพชรยังสื่อความหมายถึงคุณค่า และความแข็งแกร่ง และมหาวิทยาลัย เปรียบเสมือนสถานที่เจียรไนนักศึกษา ให้กลายเป็นเพชรที่มีเกียรติ มีคุณค่า มีความมั่นคงแข็งแกร่ง และเป็นที่ยอมรับในสังคม

สีประจำมหาวิทยาลัย

ที่มาของสีสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนั้น จากหลักฐานและบันทึกทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แต่เดิมมหาวิทยาลัยใช้ สีเขียวอมฟ้า เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จาก ปกเสื้อครุยของบัณฑิตรุ่นแรก ๆ ที่เป็นสีเขียวอมฟ้า และจากเพลงมาร์ชของมหาวิทยาลัย ที่ยังคงมีเนื้อร้องว่า ธงเขียวเชิดให้เด่นไกลนานเนาว์ มาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ สีม่วง และ สีแสด เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยการเปลี่ยนแปลงสีประจำมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อเป็นเกียรติกับสองบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากสีม่วงเป็นสีประจำวันเสาร์ และสีแสดเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นชัยพฤกษ์ เป็นต้นไม้มงคลที่ใช้ในพิธีการมงคลตามความเชื่อของคนไทย นำมาใช้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นชัยพฤกษ์ ณ บริเวณด้านหน้าอาคารฝั่งทิศใต้ ของอาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณและเป็นมิ่งขวัญของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้นชัยพฤกษ์แห่งมิ่งมงคลนี้ จะหยั่งรากลึกลงในหัวใจของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพสืบต่อไป

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

เพลงประจำมหาวิทยาลัย ที่ใช้ในพิธีการและโอกาสต่างๆ นั้น มีทั้งเพลงมาร์ช และเพลงความรู้คู่ความดี เป็นเพลงที่ใช้มาตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ลักษณะคำร้อง ทำนอง และแนวดนตรี จึงเป็นไปในลักษณะย้อนยุค

คณะและวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์คณะต่างๆและความหมาย

School logo.png



ความสัมพันธ์กับสถาบันต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วโลกเป็นอย่างดี นำมาซึ่งความร่วมมือและการสนับสนุนทางด้านวิชาการรวมทั้งด้านวัฒนธรรมในโครงการต่างๆ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และนักศึกษา โครงการศึกษาดูงาน ตลอดจนการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการบริหารมหาวิทยาลัยระหว่างผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ที่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ (International of University Presidents IAUP) ซึ่งในปี 2527 ดร.เจริญ คันธวงศ์ อธิการบดีกิตติคุณ ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ และดร.ธนู กุลชล อธิการบดีได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี

ในด้านการพัฒนาคุณภาพเกี่ยวกับการเรียนการสอนและบุคลากร หรืออาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนในด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงดีเด่นของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ อาทิ

































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น